เบื้องหลังความสำเร็จอิสราเอล สกัดกั้นการโจมตีของอิหร่านได้ถึง “99%”

เมื่ออิหร่านเปิดฉากปฏิบัติการ “ทรูโพรมิส” แค้นที่อิสราเอลถล่มสถานกงสุลในซีเรียเมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนคงคิดแน่แล้วว่า อิสราเอลอาจเกิดความเสียหายหนักอย่างแน่นอน เพราะศักยภาพการรบของอิหร่านนั้นไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่ มียุทโธปกรณ์ใหม่ออกมาอวดอยู่เนือง ๆ

แต่ความเป็นจริงกลับเหนือความคาดหมาย เพราะเจ้าหน้าที่อิสราเอลและสหรัฐฯ ระบุว่า ขีปนาวุธและโดรนเกือบทั้งหมดที่อิหร่านยิงใส่อิสราเอลถูกสกัดกั้นไว้ได้เกิอบทั้งหมด และทำให้แผนการแก้แค้นล้มเหลว อิสราเอลแทบไม่มีรอยขีดข่วน

อาวุธยุทโธปกรณ์ของอิหร่านประกอบด้วยโดรนราว 170 ลำ ขีปนาวุธร่อนมากกว่า 30 ลูก และขีปนาวุธนำวิถีมากกว่า 120 ลูก ส่วนใหญ่เชื่อว่าถูกยิงจากภายในดินแดนของอิหร่าน ระยะเวลาการปฏิบัติการอยู่ที่ 5 ชั่วโมง

กองทัพอิสราเอลกล่าวว่า “99%” ของโดรนและขีปนาวุธอิหร่านถูกสกัดกั้นโดยอิสราเอลและพันธมิตร มีขีปนาวุธ “จำนวนน้อย” เท่านั้นที่เข้าถึงอิสราเอล

คำถามสำคัญคือ อิสราเอลและพันธมิตรใช้ยุทโธปกรณ์ใดบ้าง จึงสามารถป้องกันการโจมตีได้ในระดับที่เรียกได้ว่าเกือบหมดจดขนาดนี้

สำหรับฝ่ายพันธมิตร เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่า ในจำนวนยุทโธปกรณ์ที่อิหร่านที่ถูกส่งมา มีโดรนมากกว่า 70 ลำและขีปนาวุธนำวิถี 3 ลูกที่ถูกสกัดกั้นโดยเรือและเครื่องบินรบของสหรัฐฯ

โดยขีปนาวุธนำวิถี 3 ลูกดังกล่าวนั้นถูกสกัดโดยใช้ระบบป้องกันขีปนาวุธเอจิส (Aegis) บนเรือพิฆาต 2 ลำที่ประจำการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ยังยิงโดรนของอิหร่านตกด้วย

ไบเดนกล่าวในแถลงการณ์ว่า สหรัฐฯ เตรียมการอย่างดีที่จะช่วยปกป้องอิสราเอลจากการโจมตีของอิหร่าน “เพื่อสนับสนุนการป้องกันอิสราเอล กองทัพสหรัฐฯ ได้เคลื่อนย้ายเครื่องบินและเรือพิฆาตป้องกันขีปนาวุธไปยังภูมิภาคดังกล่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา”

เขาเสริมว่า “ต้องขอบคุณการจัดวางกำลังเหล่านี้และทักษะพิเศษของสมาชิกกองทัพของเรา เราได้ช่วยอิสราเอลถล่มโดรนและขีปนาวุธที่เข้ามาเกือบทั้งหมด”

ขณะที่พันธมิตรอีกชาติหนึ่งอย่างอังกฤษ กล่าวว่า พร้อมที่จะเข้าแทรกแซงโดยใช้เครื่องบินของกองทัพอากาศที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน รวมถึงฝรั่งเศสก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการสกัดกั้นการโจมตีของอิหร่านด้วย แต่ยังไม่มีรายงานชัดเจนว่า ทั้งสองชาตินี้ได้ช่วยอิสราเอลสกัดกั้นการโจมตีไปเท่าใด

ในขณะเดียวกัน อิสราเอลไม่ได้หวังพึ่งแต่เพียงกำลังของพันธมิตรเท่านั้น เพราะระบบป้องกันต่าง ๆ ที่อิสราเอลมีอยู่เดิมก็ทรงประสิทธิภาพไม่แพ้กัน สามารถสกัดกั้นได้ตั้งแต่ขีปนาวุธนำวิถี ไปจนถึงขีปนาวุธร่อนและจรวดที่บินในระดับความสูงต่ำคำพูดจาก สล็อต true wallet

หนึ่งในระบบที่รู้จักกันดีคือ “โดมเหล็ก” (Iron Dome) ที่มีชื่อเสียงจากความสามารถในการสกัดกั้นการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธฮามาสมาได้ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปีนับตั้งแต่ปี 2011คำพูดจาก เกมส์สล็อตได้เงินจริง

องค์กรป้องกันขีปนาวุธแห่งอิสราเอล (IMDO) ระบุว่า โดมเหล็กเป็นมาตรการชั้นแรกของการป้องกันขีปนาวุธของอิสราเอล

การทำงานของโดมเหล็กนั้น อธิบายสั้น ๆ คือ เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศเคลื่อนที่ ใน 1 ระบบประกอบด้วย 10 กอง แต่ละกองสามารถบรรทุกเครื่องยิงขีปนาวุธได้ 3-4 เครื่อง

การทำงานของมันคือ ในไอรอนโดมมีการติดตั้งเรดาร์ตรวจจับจรวดเอาไว้ จากนั้นใช้ระบบสั่งการและควบคุมที่คำนวณอย่างรวดเร็วว่า ขีปนาวุธที่พุ่งเข้ามานั้นก่อให้เกิดภัยคุกคามหรือมีแนวโน้มที่จะโจมตีพื้นที่ที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หรือไม่ หากจรวดก่อให้เกิดภัยคุกคาม โดมเหล็กจะยิงขีปนาวุธจากพื้นดินเพื่อทำลายมันในอากาศ

ระบบป้องกันชั้นต่อมาคือ “เดวิดสลิง” (David's Sling) หรือชื่อเดิม คทาวิเศษ (Magic Wand) ใช้ป้องกันภัยคุกคามระยะสั้นและระยะกลาง เป็นโครงการร่วมระหว่าง Rafael Advanced Defense System ของอิสราเอลและ Raytheon บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านกลาโหมของสหรัฐฯ

เดวิดสลิงใช้ขีปนาวุธสกัดกั้นแบบจลนศาสตร์ที่ชื่อว่า สตันเนอร์ (Stunner) และ สกายเซปเตอร์ (SkyCeptor) เพื่อกำจัดเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 40-300 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันที่เหนือชั้นไปกว่าเดวิดสลิงอีก นั่นคือ ระบบ “แอร์โรว์ทู” (Arrow 2) และ “แอร์โรว์ทรี” (Arrow 3) ที่อิสราเอลพัฒนาร่วมกับสหรัฐฯ

ระบบแอร์โรว์ทูใช้หัวรบแบบกระจายเพื่อทำลายขีปนาวุธในชั้นบรรยากาศชั้นบน มันมีระยะทำการ 90 กิโลเมตร และยิงขึ้นไปในแนวดิ่งทำระดับความสูงสูงสุดถึง 50 กิโลเมตร

ส่วนแอร์โรว์ทรีใช้เทคโนโลยีการโจมตีเพื่อสังหาร (Hit-to-Kill) ในการสกัดกั้นขีปนาวุธที่เข้ามาในอวกาศ ก่อนที่พวกมันจะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศระหว่างเดินทางไปยังเป้าหมาย

นอกจากนี้ อิสราเอลยังมีเครื่องบินรบที่ล้ำสมัย ซึ่งรวมถึงเครื่องบินไอพ่นล่องหน F-35i ที่เคยใช้ยิงโดรนและขีปนาวุธร่อนมาก่อน

ขีปนาวุธที่เล็ดรอดระบบป้องกันของอิสราเอลมาได้นั้น ตกที่ฐานทัพอากาศเนทาวิม (Netavim) ทางตอนใต้ของอิสราเอล โดยอิสราเอลยืนยันว่า ขีปนาวุธเหล่านี้สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยต่อโครงสร้างเท่านั้น ฐานทัพดังกล่าวยังใช้งานและดำเนินการต่อได้หลังการโจมตี

นี่เองคือเบื้องหลังความสำเร็จของอิสราเอลในการสกัดกั้นการโจมตีของอิหร่าน ในระดับที่ว่าแทบจะไม่มีภาพความเสียหายเกิดขึ้นเลย

เรียบเรียงจาก CNN