วันที่ 26 เม.ย. 1986 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ทำให้โลกหวาดกลัวภัยพิบัติจากนิวเคลียร์ เมื่อเตาปฏิกรณ์เครื่องหนึ่งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองเชอร์โนบิล เมืองเล็ก ๆ ชายแดนยูเครน-เบลารุส (ซึ่งขณะเกิดเหตุยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) ได้เกิดการระเบิดขึ้น
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีสารกัมมันตรังสีอันตรายรั่วไหลออกมาเป็นจำนวนมาก ในระดับที่คาดว่ากว่าจะกำจัดหมดต้องใช้เวลาถึงปี 2065 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีกว่า 100 ราย และสร้างผลพวงระยะยาวต่อผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะการก่อโรคมะเร็ง
พบดวงจันทร์ดาวยูเรนัส-เนปจูนเพิ่ม 3 ดวง หนึ่งในนั้นทุบสถิติมีขนาดเล็กที่สุด
พบงูอนาคอนดาสายพันธุ์ใหม่ในแอมะซอน คาดมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก!
สำรวจใต้ทะเลใกล้ชิลี พบสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยเห็นกว่า 100 สายพันธุ์
หลังการระเบิด มีการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่เชอร์โนบิลมากกว่า 100,000 คน พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปิดตาย แต่ก็มีบางส่วนที่กลายเป็นแห่ลงท่องเที่ยวหรือแหล่งเรียนรู้ กระนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เชอร์โนบิลเปรียบเสมือนว่าได้กลายเป็นดินแดนแห่งความตายไปแล้ว
อย่างไรก็ดี ที่อพยพออกมาหลังจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งใหญ่มีเพียงมนุษย์ แต่ในเขตเชอร์โนบิลยังคงมีสิงสาราสัตว์นานาชีวิตดำรงชีพอยู่ในนั้นจนถึงปัจจุบัน และมี “ความเปลี่ยนแปลง” บางอย่างเกิดขึ้นกับพวกมัน
ตัวอย่างเช่น ในปี 2016 การศึกษาพบว่า กบต้นไม้ตะวันออก (Hyla orientalis) ในเชอร์โนบิลมีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่อยู่ใกล้เคียง หรือเมื่อปี 2023 การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งก็ค้นพบความแตกต่างทางพันธุกรรมที่ชัดเจนระหว่างสุนัขในเชอร์โนบิลกับสุนัขที่อาศัยอยู่ห่างออกไปเกือบ 20 กม. ในเมืองเชอร์โนบิล
ล่าสุด นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน คารา เลิฟ และเชน แคมป์เบลล์-สแตนตัน กำลังสำรวจความเปลี่ยนแปลงในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง นั่นคือ “หมาป่า”
พวกเขาพบว่า ประชากรหมาป่าในเขตเชอร์โนบิลเพิ่มจำนวนขึ้นต่อเนื่องอย่างไม่คาดคิด เนื่องจากพวกมันเป็นสัตว์นักล่าชั้นยอดซึ่งอยู่ด้านบนสุดของห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น เมื่อระบบนิเวศเต็มไปด้วยกัมมันตรังสี จึงมีความเป็นไปได้สูงที่อาหารทุกอย่างที่พวกมันกินจะต้องปนเปื้อนรังสีไม่มากก็น้อย เพราะไม่ว่าจะดิน พืชพรรณ หรือสัตว์ใด ๆ ที่เป็นอาหารของพวกมัน ล้วนต้องได้รับรังสีเข้าไปอย่างแน่นอน และโดยหลักการแล้ว พวกมันน่าจะได้รับผลกระทบจากรังสีมากเป็นพิเศษ
แต่เลิฟบอกว่า สิ่งนั้นกลับไม่เกิดขึ้น และประชากรหมาป่าในเชอร์โนบิลกลับมีความหนาแน่นมากกว่าในพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศเบลารุสถึง 7 เท่า
แคมป์เบลล์-สแตนตันกล่าวว่า “หมาป่าสีเทาเสนอโอกาสที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจผลกระทบของการได้รับรังสีแบบเรื้อรังในปริมาณต่ำ และส่งต่อกันหลายรุ่น”
เขาเสริมว่า “ในฐานะนักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการ คำถามแรก ๆ ในใจของผมก็คือ การแผ่รังสีนี้เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเครียดที่กดดันในเกิด ‘การเลือกสรร’ หรือไม่”
ในปี 2014 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันได้ติดปลอกคอให้กับหมาป่าเชอร์โนบิล โดยมีทั้งอุปกรณ์ติดตาม GPS และเครื่องวัดปริมาณรังสี เพื่อพยายามทำความเข้าใจการตอบสนองของประชากรหมาป่าต่อรังสีที่ก่อให้เกิดมะเร็งของเชอร์โนบิล
พวกเขาพบว่า หมาป่าเหล่านี้ได้รับรังสีสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดสำหรับมนุษย์ถึง 6 เท่าอย่างต่อเนื่อง
เลิฟและแคมป์เบลล์-สแตนตันตั้งสมมติฐานว่า หมาป่ากำลังเผชิญกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ซึ่งน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมโดยรอบของพวกมัน
ที่สำคัญ หมาป่าบางตัวในเชอร์โนบิล “มียีนที่ทำให้พวกมันต้านทานมะเร็งได้ดีกว่าหมาป่าตัวอื่น” แม้ว่าพวกมันจะยังคงเป็นมะเร็งในอัตราเท่าเดิม แต่สุนัขที่มีความยืดหยุ่นเหล่านี้ก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ทำให้พวกมันสามารถถ่ายทอดยีนเหล่านั้นไปยังหมาป่ารุ่นลูกรุ่นหลานด้
แคมป์เบลล์-สแตนตัน กล่าวว่า “โดยทั่วไปแล้ว เราพบว่าจุดที่มีการพัฒนาเร็วที่สุดภายของหมาป่าเชอร์โนบิลนั้นอยู่ในและรอบ ๆ ยีนที่เรารู้ว่ามีบทบาทบางอย่างในการตอบสนองภูมิคุ้มกันของมะเร็ง หรือการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้องอกในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม”
แม้ว่าข้อมูลจะแสดงให้เห็นสาเหตุทางพันธุกรรมที่ชัดเจนเบื้องหลังการต้านทานมะเร็งของหมาป่าเชอร์โนบิล แต่แคมป์เบลล์-สแตนตันก็ชี้ให้เห็นอย่างรวดเร็วว่า หมาป่าเหล่านี้ยังปราศจากแรงกดดันทางชีวภาพอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะมนุษย์
ขณะนี้ ทีมวิจัยกำลังทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเพื่อดูว่าผลลัพธ์เหล่านี้จะนำมาปรับใช้กับการป้องกันสุขภาพของมนุษย์ได้อย่างไรบ้าง
นี่เป็นอีกครั้งที่ความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตทำให้เราต้องทึ่ง เมื่อกลไกการเอาชีวิตรอดกำลังผลักดันทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดปรับตัวและวิวัฒนาการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ที่เต็มไปด้วยสารกัมมันตรังสีก็ตาม
เรียบเรียงจาก NPR / Yahoo Finance
เพื่อนบ้านยึดบ้านอากู๋ ครอบครองปรปักษ์ เครียดคิดสั้น-ผูกคอลาโลก!
ผลบอลเอฟเอ คัพ รอบ 5 แมนซิตี้ ถล่ม ลูตัน 6-2 ลิ่วรอบ 8 ทีม คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
พายุฤดูร้อน! ประกาศเตือนฉบับที่ 8 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง