เลือกตั้ง 2566 – โค้งสุดท้ายย้ายค่าย ข้ามขั้ว ก่อนเลือกตั้ง

การเมืองเริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เคาะวันเลือกตั้งออกมาแล้ว นั้นคือ…. วันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค.2566 รวมถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง ก็ไล่เรียงตามไทม์ไลน์ที่ กกต.แถลงออกมาทั้งหมด แต่สิ่งที่น่าจับตาต่อ คือ การย้ายพรรค ย้ายขั้วทางการเมืองครั้งกำลังเป็นที่น่าสนใจ เรียกได้ว่า "ฝุ่นตลบ" เลยทีเดียว

เรื่องปกติก่อนการเลือกตั้ง ที่นักการเมืองจะย้ายค่ายย้ายขั้วอยู่แล้ว ถ้าย้ายแบบแรก คือ พรรคฝั่งรัฐบาลย้ายไปอยู่ขั้วร่วมรัฐบาล

เช่น พลังประชารัฐ ย้ายไปภูมิใจไทย หรือ ประชาธิปัตย์ ย้ายไปภูมิใจไทย เช่นเดียวกับพรรคฝ่ายค้าน ที่ย้ายในขั้วเดียวกันซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีความแปลกอะไร

แต่สิ่งที่แปลกเลย คือ การย้ายข้ามขั้วชนิดที่ว่า เปรีบยให้เห็นแบบ ย้านจากขั้วโลกเหนือ ไปอยู่ขั้วโลกใต้เลย ทำให้ในห้วงเวลา 2-3 สัปดาห์จะเห็นแบบนี้อยู่ตลอด

ก่อหน้ามีให้เห็น มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่เดิมเคยอยู่พรรคเศรษฐกิจใหม่ ในการเลือกตั้งหลังปี 2562 ส.ส.หลายคนในพรรคไปเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่มิ่งขวัญ ยังอยู่ในพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในพรรคเดียวกันแตกออกเป็น 2 ขั้ว ก่อนที่จะประกาศลาออกจาก ส.ส.ไป คีย์สำคัญที่ประกาศชัดอยู่แล้ว คือ การไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ ไม่นานก็ย้ายข้ามมาอยู่กับพลังประชารัฐ ซึ่งคำตอบของมิ่งขวัญ คือ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่อยู่แล้ว แต่คำถามที่อยากถามต่อ ว่าเรื่องนี้มิ่งขวัญ มองอย่างไร พล.อ.ประวิตร เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารที่ผ่านมาหรือไม่ และใน 3 ป.เอง พล.อ.ประวิตร ไม่เกี่ยวหรือ ? แล้วหากในอนาคตข้างหน้า พลังประชารัฐ จำต้องไปจับมือกับ รวมไทยสร้างชาติ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จุดยืนของมิ่งขวัญ จะทำอย่างไร ถ้าพล.อ.ประวิตร ไปรวมกับพล.อ.ประยุทธ์จริง

มิ่งขวัญ ตอบส้ั้นๆ ว่า "ยังไม่รู้" เพราะถ้าจะให้ตอบ ต้องไปดูวันที่ประกาศผลการเลือกตั้ง เพราะเข็ดแล้ว กับการพูดอะไร เมินอะไรต่างๆ นานๆไปก่อน

อีกคนหนึ่ง สมศักดิ์ เทพสุทิน ที่ย้ายข้ามไปเพื่อไทย เพราะลม ฟ้า อากาศเปลี่ยน จึงต้องย้ายขั้วทางการเมือง 40 ปี ที่เล่นการเมือง อยู่ข้างที่ชนะมาตลอด

ส่วนการย้ายข้ามขั้วแบบสุดๆ คงหนีไม่พ้น ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ที่ย้ายไปอยู่รวมไทยสร้างชาติ สมัยอยู่เพื่อไทย ศรัณย์วุฒิ ถูกวางตัวให้อภิปรายโจมตีพล.อ.ประยุทธ์ อยู่หลายหน แต่มีช่วงหนึ่งที่เกิดความน้อยใจ ที่ไม่ได้อภิปรายในศึกซักฟอก ต้องย้ายพรรค ไปอยู่เพื่อชาติ แว่วว่าก่อนหน้านี้จะไปอยู่เสรีรวมไทย ท้ายที่สุดก็แถลงข่าวจะไปอยู่รวมไทยสร้างชาติ จึงต้องจับตาว่า การย้ายขั้ว ย้ายข้างแบบนี้ จะเกิดอะไรขึ้นตามมาของการเลือกตั้ง

ณ เวลานี้ที่คนกำลังตั้งคำถามอยู่ 2 เรื่อง คือ ก่อนจะมีการรับสมัคร รับเลือกตั้ง วันที่ 3 เม.ย. ซึ่งเกือบๆ 2 สัปดาห์ จะเกิดความชุลมุนขนาดไหน ย้ายในขั้วเดียวกันถือว่าเป็นเรื่องปกติ "ตกปลาในบ่อพี่ ตกปลาในบ่อเพื่อน" ไม่แปลกหรอก

แต่ย้ายข้ามขั้ว ย้ายข้ามค่าย ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตาต่อ เพราะจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ บางพรรคถือขั้น มีการให้เซ็นต์สัญญาเพื่อป้องกันการย้ายพรรค

ในมุมของ อ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารฯ มธ. มองว่าต้องจับตาก่อนวันที่ 3 เม.ย.ให้ดีว่าจะมีการย้ายพรรค ข้ามขั้วอีกหรือไม่ เพราะมีเวลาพอสมควร การเมืองไทยหลังจากนี้ไม่ต่างอะไรกับตลาดนักแตะเลย เชื่อว่ามีการเกิดขึ้นอีกแน่นนอน

อ.ปริญญา ยังมองว่า การย้ายข้ามขั้วไปเลย ถือว่ามีผลต่อคะแนน เปรียบเทียบให้เห็น ถ้าประชาชนเลือก ส.ส.คนนั้นเพราะอยู่พรรคนี้ แต่มาวันหลังย้ายไปอยู่พรรคที่ประชาชนไม่ชอบ เขาก็อาจไม่ชนะในรอบนี้ เพราะประชาชนเลือกพรรค

 เลือกตั้ง 2566 - โค้งสุดท้ายย้ายค่าย ข้ามขั้ว ก่อนเลือกตั้ง

อธิบายง่ายๆ ส.สคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. คนนี้เคยอยู่ฝ่ายค้าน เพราะชอบ เพราะรัก วันหนึ่งย้ายไปฝั่งขั้วรัฐบาล ก็อาจตัดสินใจไม่กากก็เป็นไปได้

ดังนั้น การย้ายจากข้างเดิม ก็จะเสียฐานคะแนนจากข้างเดินพอสมควร ส่วนขั้วใหม่จะเติมได้เท่าไหร่ จุดชี้วัดจะอยู่ตรงนี้