สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เคยพยายาม “ล่าไดโนเสาร์” เป็นอาหาร
เมื่อพูดถึงสิ่งมีชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์อย่าง “ไดโนเสาร์” เราคงนึกถึงภาพความยิ่งใหญ่ ความเป็นเจ้าผู้ปกครองโลกในยุคสมัยนั้น มีเพียงไดโนเสาร์เท่านั้นที่จะล่าไดโนเสาร์ด้วยกัน จนเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่า ไดโนเสาร์จะเป็นเหยื่อของสิ่งมีชีวิตอื่นได้
แต่ล่าสุดมีหลักฐานพบว่า “สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดในอดีต เคยพยายามล่าไดโนเสาร์เป็นอาหารเช่นกัน”คำพูดจาก สล็อต777
ในช่วงยุคครีเทเชียสเมื่อ 125 ล้านปีก่อน มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแสบขนาดเท่าแมวบ้าน พยายามล่าไดโนเสาร์กินพืชที่ใหญ่กว่าตัวมันเองถึง 3 เท่าเพื่อเป็นอาหาร
หลักฐานดังกล่าวคือ ซากฟอสซิลดึกดำบรรพ์ที่ขุดพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เป็นฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตสองชนิดที่กำลังต่อสู้กัน ตัวแรกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หน้าตาคล้ายตัวแบดเจอร์ เรียกว่า “เรปีโนมามุส โรบุสตุส” (Repenomamus robustus) และอีกชนิดเป็นไดโนเสาร์กินพืช “ซิตตาโกซอรัส” (Psittacosaurus)
จอร์แดน มัลลอน นักบรรพชีวินวิทยา จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติแห่งแคนาดา กล่าวว่า เป็นช่วงเวลาอันน่าทึ่ง เมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรกสุด ซึ่งอาศัยอยู่ใต้เงาอำนาจของไดโนเสาร์ พยายามผันตัวเป็นผู้ล่า
“สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบตัวนี้เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้นแล้ว คือมีขนาดเท่าแมวบ้าน ไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้น และมีขนาดที่ต่างกันมากระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไดโนเสาร์” มัลลอนกล่าว
เขาเสริมว่า “ภูมิปัญญาที่สืบทอดมาคือการปฏิสัมพันธ์ในระบบนิเวศยุคดึกดำบรรพ์จะเป็นแบบฝ่ายเดียว คือไดโนเสาร์ที่ใหญ่กว่าจะกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กกว่า แต่หลักฐานนี้ทำให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเองก็สามารถกำจัดไดโนเสาร์ที่ใหญ่กว่าได้หากมันหิวพอหรือสิ้นหวังพอ”
การค้นพบนี้ไม่ใช่หลักฐานแรกที่บ่งชี้ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรก ๆ ล่าไดโนเสาร์ เมื่อปี 2005 เคยมีการพบซากของซิตตาโกซอรัสในท้องของ เรปีโนมามุส โรบุสตุส
โลกดาราศาสตร์ทึ่ง! พบ “ดาวสองหน้า” ของแปลกแห่งจักรวาล
นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน โลกเข้าสู่ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” แล้ว!
หลักฐานจากฟอสซิล บรรพบุรุษมนุษย์ “อาจเคยกินกันเองเป็นอาหาร”
แต่สิ่งที่ทำให้หลักฐานฟอสซิลนี้โดดเด่นและแตกต่างจากหลักฐานเดิมคือ มันเป็นฟอสซิลขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกำลังโจมตีไดโนเสาร์ที่เกือบโตเต็มวัยพอดี
มัลลอนกล่าวว่า การจะหาฟอสซิลที่เป็นจังหวะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการล่าของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์นั้นหายากมาก เช่น ฟอสซิลขณะไดโนเสาร์ไทรเซอราทอปส์ฮอริดัสและไทรันโนซอรัสเร็กซ์กำลังต่อสู้กันตัวต่อตัว “นี่คือฟอสซิลประเภทที่จะพบได้แค่ครั้งหนึ่งในชีวิต พวกมันไม่ได้มีแบบนี้บ่อยนัก”
ซิตทาโกซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่มีจงอยปากขนาดเล็ก คาดว่าน่าจะพบเห็นได้ทั่วไปในภูมิภาคจีนตะวันออกเฉียงเหนือในเวลานั้น
มัลลอนกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตทั้งสองน่าจะตายระหว่างการต่อสู้ และถูกฝังไว้ด้วยกันโดยฉับพลันจากโคลนถล่มหลังการปะทุของภูเขาไฟ
แม้จะเป็นเรื่องที่ไปไม่ได้ในการจะรู้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือไดโนเสาร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะในการต่อสู้ครั้งนี้ แต่มัลลอนบอกว่า “เป็นไปได้ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะทำสำเร็จ” เช่นเดียวกับในโลกธรรมชาติทุกวันนี้ ที่สัตว์กินเนื้อขนาดเล็กสามารถโจมตีสัตว์ที่ใหญ่กว่ามากได้
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก Gang Han / Michael W. Skrepnick