“วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม” โชว์ขับเคลื่อนแผนดูแลผลไม้ปี 65 ดันราคาขึ้น สร้างร้อยยิ้มเกษตรกร

แม้ในปีนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะประเมินผลผลิตผลไม้ทั้งประเทศ มีปริมาณมากถึง 5.36 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 11% จนทำให้เกิดความกังวล อาจเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาตกต่ำตามมา อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ที่ได้กำหนดมาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2565 เชิงรุก 18 มาตรการ ส่งผลให้ภาพรวมราคาผลไม้ในปีนี้ ปรับตัวสูงขึ้นแบบหักปากกาเซียน และแทบไม่มีปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำให้เห็นเลย สร้างรอยยิ้มแก่เกษตรถ้วนหน้า

เบื้องหลังความสำเร็จที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งต้องยกให้กับผลงานของนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ที่รับมอบหมายให้เป็นแม่ทัพใหญ่ ทำหน้าที่บริหารจัดการตลาดผลไม้ในประเทศ โดยเข้าไปดำเนินมาตรการเชิงรุกจนประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม เริ่มจาก การดูแลมะม่วงที่ออกสู่ตลาดช่วงเดือน เม.ย.65 ซึ่งปีนี้มีผลผลิตออกมากถึง 1.44 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5% โดยกรมการค้าภายใน เข้าไปช่วยเหลือรับซื้อราคานำตลาดจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. ถึงต้นเดือน มิ.ย.65 ไม่เพียงแค่นั้น ยังร่วมมือกับพันธมิตรสถานีบริการน้ำมัน รับซื้อผลผลิตตกเกรด นำไปแปรรูป เป็นของสมนาคุณให้แก่ผู้ใช้บริการปั๊มน้ำมัน และร่วมมือกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด กระจายออกผลผลิต โดยสนับสนุนค่าบริหารจัดการ กก.ละ 3 บาท ตลอดจนเปิดจุดจำหน่าย และรถโมบาย ส่งผลให้สถานการณ์มะม่วงดีขึ้นกว่าปีก่อนชัดเจน

นอกจากนี้ กรมการค้าภายใน ได้จัดกิจกรรม “พาณิชย์ Fruit Festival 2022” เพื่อกระตุ้นการบริโภคผลไม้ช่วงต้นเดือน พ.ค.2565 พร้อมกับเตรียมจุดจำหน่ายผลไม้ไว้ 1,092 จุด ประกอบด้วย ห้างโมเดิร์นเทรด ร้านค้าปลีกค้าส่ง ร้านสะดวกซื้อ ห้างท้องถิ่น ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการบริโภคผลไม้ได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังร่วมมือ ปั๊มน้ำมันพีที โออาร์ และบางจาก ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด และสับปะรด ด้วยการเข้าไปรับซื้อผลผลิตจากชาวสวนจันทบุรี ระยอง ตราด และสับปะรดจากเชียงราย ลำปาง อุตรดิตถ์ รวม 525 ตัน นำมามอบเป็นของสมนาคุณแก่ลูกค้า 500,000 ถุง ระหว่างวันที่ 2-6 มิ.ย.2565 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคเหนือ รวม 21 จังหวัด กว่า 900 สาขา

ขณะที่ผลไม้ยอดฮิตอย่างทุเรียน ซึ่งปีนี้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากถึง 1.44 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 19% กรมฯ ได้นำนวัตกรรมสมัยใหม่มาช่วยดูแล โดยประสานให้ผู้ผลิตเข้าไปรับซื้อทุเรียนสด 2 แสนตัน เพื่อนำเนื้อทุเรียนไปฟรีซแช่แข็ง ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อบรรเทาปัญหาผลผลิตส่วนเกิน อีกทั้งยังมีมาตรการดูแลราคาผลไม้อื่น ๆ เช่น การนำผลไม้เปิดจุดจำหน่าย และเปิดรับพรีออเดอร์จากนิคมอุตสาหกรรม การตั้งจุดจำหน่าย มีรถเร่ นำผลไม้จากตลาดกลาง ตลาดไท ตลาดสี่มุมไปจำหน่าย ตลอดจนช่วยเหลือสนับสนุนกล่องใส่ผลไม้ให้เกษตรกร 3 แสนกล่อง นำไปไว้ใส่ผลไม้จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย

ผลจากการดำเนินมาตรการเชิงรุก ในการบริหารจัดผลไม้อย่างหลากหลาย ทำให้ราคาผลไม้ในปีนี้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน อาทิ มะม่วงน้ำดอกไม้ เกรดส่งออก กก.ละ 30-60 บาท สูงขึ้นจากปีที่แล้วที่กก. 20-25 บาท มะม่วง เกรดคละ กก. 15-25 บาท สูงขึ้นจาก 12-15 บาท สับปะรดภูแล กกคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. 3-5 บาท สูงขึ้นจาก 3.5-4 บาท ลิ้นจี่ เกรดส่งออก กก. 45-70 บาท เกรด บี กก.ละ 35-60 บาท ทุเรียนหมอนทอง ปีนี้ กก.ละ 110-130 บาท สูงกว่าปีก่อน กก.ละ 117 บาท

ท้ายนี้ นายวัฒนศักย์ ยังระบุว่า แผนบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกจะยังไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้ เพราะหลังหมดฤดูผลไม้ภาคตะวันออก คิวต่อไปก็จะเข้าไปดูแลผลผลิตผลไม้ภาคใต้ และภาคเหนือที่กำลังจะออกมาอีก ซึ่งกรมฯ ได้เตรียมพร้อมมาตรการดูแลไว้แล้วหลายด้าน ทั้งการประสานล้ง ผู้ส่งออกเข้าไปเปิดจุดรับซื้อ และช่วยค่าบริหารจัดการเพื่อส่งออก กก.ละ 4 บาท เป้าหมาย 1 แสนตัน เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ในภาพรวม และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด