นักวิทย์พบจุลินทรีย์บางชนิด ย่อยสลายพลาสติกในอุณหภูมิต่ำได้
“การใช้จุลินทรีย์ย่อยพลาสติก” เป็นหนึ่งในแนวทางการจัดการขยะพลาสติกที่เป็นที่พูดถึงมากในปัจจุบัน และที่ผ่านมา มีการค้นพบจุลินทรีย์จำนวนมากที่สามารถทำเช่นนี้ได้
อย่างไรก็ดี โดยปกติแล้ว จุลินทรีย์จำพวกนี้จะสามารถทำงานได้ในสภาวะที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากต้องการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมจะมีราคาแพงและไม่เป็นกลางทางคาร์บอน เนื่องจากต้องใช้ความร้อนร่วมด้วย
แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันแห่งสหพันธรัฐสวิส WSL ได้ค้นพบจุลินทรีย์ในเทือกเขาแอลป์และภูมิภาคอาร์กติกที่สามารถย่อยพลาสติกได้แม้ในสภาวะที่อุณหภูมิต่ำเพียง 15 องศาเซลเซียส ทำให้อาจเป็นเครื่องมือใหม่ในการจัดการขยะพลาสติก
นักวิทย์พบอีกสาเหตุสำคัญ ทำธารน้ำแข็งละลายเร็วกว่าที่คาด
พบ “ครึ่งหินครึ่งพลาสติก” เมื่อมนุษย์กำลังเปลี่ยนธรณีวิทยาของโลก
เราจะทำร้ายธรรมชาติอีกแค่ไหนคำพูดจาก สล็อตวอเลท? พบโรคใหม่ในนกทะเล เกิดจาก “ขยะพลาสติก”
ดร.โจเอล รูธี จาก WSL และทีมวิจัย ได้สุ่มตัวอย่างแบคทีเรียและเชื้อรา 15 ที่เติบโตบนพลาสติกที่วางอยู่เฉย ๆ หรือถูกฝังไว้ในดินเป็นเวลา 1 ปีในกรีนแลนด์ สวาลบาร์ด และสวิตเซอร์แลนด์
ในจำนวนนี้แบ่งเป็นแบคทีเรีย 13 ชนิดในกลุ่มแอคติโนแบคทีเรีย (Actinobacteria) และโปรตีโอแบคทีเรีย (Proteobacteria) และเชื้อรา 10 ชนิดในกลุ่มแอสโคไมโคตา (Ascomycota) และมิวโคโรไมโคตา (Mucoromycota)
จากนั้นนำจุลินทรีย์เหล่านี้มาเพาะเลี้ยงในห้องทดลองในความมืดที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส และทดสอบเพื่อดูว่า พวกมันสามารถย่อยพลาสติกประเภทต่าง ๆ ได้หรือไม่
พลาสติกที่นำมาทดสอบประกอบด้วย โพลิเอทิลีน (PE) และโพลิยูรีเทน (PUR) รวมถึงส่วนผสมที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่มีจำหน่ายในท้องตลาด 2 ชนิด ได้แก่ โพลิบิวทิลีน อะดิเพต เทเรฟทาเลต (PBAT) และโพลิแลกติกแอซิด (PLA)
พลการทดลองพบว่า ไม่มีจุลินทรีย์สายพันธุ์ใดที่สามารถย่อย PE ได้ แม้ว่าจะบ่มพลาสติกเหล่านี้เป็นเวลานานถึง 126 วันแล้วก็ตาม แต่มีแบคทีเรีย 8 สายพันธุ์ และเชื้อรา 11 สายพันรธุ์ สามารถย่อย PUR ได้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ แบคทีเรีย 3 สายพันธุ์และเชื้อรา 14 สายพันธุ์สามารถย่อยส่วนผสมพลาสติกของ PBAT และ PLA ได้
รูธีกล่าวว่า “นี่แสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์บางชนิดในดินบนเทือกเขาแอลป์และอาร์กติกสามารถช่วยลดต้นทุนและภาระด้านสิ่งแวดล้อมของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกด้วยเอนไซม์ได้”
เขากล่าวว่า เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่สายพันธุ์ส่วนใหญ่ของจุลินทรีย์ที่สุ่มเก็บมา สามารถย่อยสลายพลาสติกได้อย่างน้อย 1 ชนิด
นักวิทยาศาสตร์ยังได้ทดสอบหาจุลินทรีย์ตัวที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด และพบว่าเชื้อรา 2 สายพันธุ์ในสกุล นีโอเดฟรีเซีย (neodevriesia) และ แลคเนลลูลา (lachnellula) มีศักยภาพดีที่สุด เพราะสามารถย่อยพลาสติกที่นำมาทดสอบได้ทุกชนิดยกเว้น PE
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดสอบความสามารถของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายพลาสติกที่อุณหภูมิเดียวเท่านั้น จึงยังไม่พบว่าจริง ๆ แล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรอยู่ที่เท่าไร อย่างไรก็ตาม พวกเขาบอกว่าพวกมันทำงานได้ดีระหว่าง 4-20 องศาเซลเซียส
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก AFP